วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ประเภทและชนิดของเมฆ

                         HOMEPAGE         

  ประเภทและชนิดของเมฆ


 เมฆนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แบบเป็นชั้น (layered) ในแนวนอน และ แบบลอยตัวสูงขึ้น (convective) ในแนวตั้ง โดยจะมีชื่อเรียกว่า สเตรตัส (stratus ซึ่งหมายถึงลักษณะเป็นชั้น) และ คิวมูลัส (cumulus ซึ่งหมายถึงทับถมกันเป็นกอง) ตามลำดับ นอกจากนี้แล้วยังมีคำที่ใช้ในการบอกลักษณะของเมฆอีกด้วย
              - สเตรตัส (stratus) หมายถึง ลักษณะเป็นชั้น
              - คิวมูลัส (cumulus) หมายถึง ลักษณะเป็นกองสุม
            - เซอร์รัส (cirrus) หมายถึง ลักษณะเป็นลอนผม
            - นิมบัส (nimbus) หมายถึง ฝน
        แบ่งตามระดับความสูง
                เมฆยังอาจแบ่งเป็น กลุ่ม ตามระดับความสูงของเมฆ โดยระดับความสูงของเมฆนี้จะวัดจากฐานของก้อนเมฆ ไม่ได้วัดจากยอด
         ซึ่งการแบ่งตามระดับความสูงจะใช้ในการตรวจและแบ่งชนิดของเมฆทางอุตุนิยมวิทยา สำหรับเป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อผลทางการวิเคราะห์สภาพลมฟ้าอากาศในการพยากรณ์ โดยใช้ความสูงของฐานเมฆเป็นหลักในการแบ่งชนิด ซึ่งลักษณะของเมฆแต่ละชนิดนั้นสามารถที่จะบอกให้ทราบถึงแนวโน้มลักษณะของสภาวะอากาศที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ เช่น ถ้าในท้องฟ้ามีเมฆก่อตัวในทางแนวตั้งแสดงว่าอากาศกำลังลอยตัวขึ้น หมายถึง สภาวะของอากาศก่อนที่จะเกิดลมพายุ 
             หรือถ้าเมฆในท้องฟ้าแผ่ตามแนวนอนเป็นชั้นๆ หมายถึง สภาวะอากาศที่สงบและจะมีกระแสลมทางแนวตั้งเล็กน้อย หรือถ้าเมฆในท้องฟ้าก่อตัวทางแนวตั้งสูงใหญ่ จะหมายถึงลักษณะของเมฆพายุฟ้าคะนอง ที่เรียกว่า เมฆคิวมูโลนิมบัส ฝนจะตกหนักและมีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง บางครั้งอาจมีฟ้าผ่าลงมายังพื้นดินด้วย ซึ่งเมฆพายุฟ้าคะนองนี้เป็นอันตรายต่อเครื่องบินขนาดเล็กเป็นอันมาก
        เมฆระดับสูง (High Clouds) 
             ก่อตัวที่ความสูงมากกว่า 16,500 ฟุต (5,000 เมตร) ในบริเวณที่อุณหภูมิต่ำในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ ที่ความสูงระดับนี้น้ำส่วนใหญ่นั้นจะแข็งตัว ดังนั้นเมฆจะประกอบด้วยผลึกน้ำแข็ง เมฆในชั้นนี้ส่วนใหญ่มักจะมีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ และ มักจะค่อนข้างโปร่งใส  
            - เมฆเซอรัส (Cirrus) มีฐานสูงเฉลี่ย 10,000 เมตร มีลักษณะเป็นฝอยปุยสีขาวเหมือนขนนกบางๆ หรือเป็นทางยาว และอาจมีวงแสง (Halo) ด้วย

เมฆเซอโรคิวมูลัส (Cirrocumulus) มีฐานสูงเฉลี่ย 7,000 เมตร มีลักษณะเป็นเกล็ดบางๆ สีขาว หรือเป็นละอองคลื่นเล็กๆ อยู่ติดกัน บางตอนอาจแยกจากกันแต่จะอยู่เรียงรายกันอย่างมีระเบียบ โปร่งแสง อาจมองเห็นดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ได้ 


        เมฆเซอโรสเตรตัส (Cirrostratus) มีฐานสูงเฉลี่ย 8,500 เมตร มีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบางๆ โปร่งแสงเหมือนม่านติดต่อกันเป็นแผ่นในระดับสูง มีสีขาวหรือน้ำเงินจางปกคลุมเต็มท้องฟ้าหรือเพียงบางส่วน เป็นเมฆที่ทำให้เกิดวงแสงสีขาวหรือมีวงแสง (Halo) รอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ได้

เมฆระดับกลาง (Medium Clouds)
      ก่อตัวที่ความสูงระหว่าง 6,500 และ 16,500 ฟุต (ระหว่าง 2,000 และ 5,000 เมตร) เมฆจะประกอบด้วยละอองน้ำ และ ละอองน้ำเย็นยิ่งยวด
     - เมฆอัลโตคิวมูลัส (Altocumulus) มีลักษณะอยู่เป็นกลุ่มๆ คล้ายฝูงแกะ มีสีขาว บางครั้งสีเทา มีการจัดตัวเป็นแถวๆ หรือเป็นคลื่น เป็นชั้นๆ มีเงาเมฆ มีลักษณะเป็นเกล็ดเป็นก้อนม้วนตัว (roll) อาจมี 2 ชั้น หรือมากกว่านั้น อาจมีแสงทรงกลด (Corona)

        - เมฆอัลโตสเตรตัส (Altostratus) มีลักษณะเป็นแผ่นหนา บางสม่ำเสมอในชั้นกลางของบรรยากาศ มองดูเรียบเป็นปุยหรือฝอยละเอียดแผ่ออกเป็นพืด เป็นลูกคลื่น ปกคลุมเต็มท้องฟ้า มีสีเทาหรือน้ำเงินอ่อน และอาจมีบางส่วนที่บางจนแสงอาทิตย์จะส่องผ่านลงมายังพื้นดินได้ อาจมีแสงทรงกลด (Corona)

เมฆระดับต่ำ (Low Clouds)
             ก่อตัวที่ความสูงต่ำกว่า 6,500 ฟุต (2,000 เมตร) และ รวมถึงสเตรตัส (Stratus) เมฆสเตรตัสที่ลอยตัวอยู่ระดับพื้นดินเรียก หมอก
           - เมฆสเตรตัส (Stratus) มีลักษณะเป็นแผ่นหนาๆ สม่ำเสมอในชั้นต่ำของบรรยากาศ ใกล้ผิวโลกเหมือนหมอก มีสีเทา มองไม่เห็นดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ ไม่ทำให้เกิดวงแสง (Halo) เว้นแต่เมื่อมีอุณหภูมิต่ำมากก็อาจเกิดได้


 - เมฆสเตรโตคิวมูลัส (Stratocumulus) มีสีเทา ลักษณะอ่อนนุ่ม เป็นก้อนกลมเรียงติดๆ กัน ทั้งทางแนวตั้งและทางแนวนอนทำให้มองเห็นเป็นลอนเชื่อมติดต่อกันไป 

   - เมฆนิมโบสเตรตัส (Nimbostratus) มีลักษณะเป็นแผ่นหนาสีเทาดำ เป็นแนวยาวติดต่อกันแผ่กว้างออกไป ไม่เป็นรูปร่าง เป็นเมฆที่ทำให้เกิดฝนตกจึงเรียกกันว่า เมฆฝน เมฆชนิดนี้จะไม่มีฟ้าแลบฟ้าร้อง เกิดเฉพาะในเขตอบอุ่นเท่านั้น

เมฆแนวตั้ง (Vertical Clouds)
             เป็นเมฆที่มีแนวก่อตัวในแนวตั้ง ซึ่งทำให้เมฆมีความสูงจากฐาน โดยความสูงของฐานเมฆเฉลี่ย 1,600 ฟุต หรือ 500 เมตร ความสูงของยอดเมฆเฉลี่ยถึงระดับสูงของเมฆเซอรัส
    - เมฆคิวมูลัส (Cumulus) ลักษณะเป็นเมฆก้อนหนามียอดมนกลมคล้ายกะหล่ำดอก เห็นขอบนอกได้ชัดเจน ส่วนฐานมีสีค่อนข้างดำ ก่อตัวในทางตั้งกระจัดกระจายเหมือนสำลี ถ้าเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ หรือลอยอยู่โดดเดี่ยวแสดงถึงสภาวะอากาศดี ถ้ามีขนาดก้อนเมฆใหญ่ก็อาจมีฝนตกภายใต้ก้อนเมฆ ลักษณะเป็นฝนเฉพาะแห่ง
    - เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ลักษณะเป็นเมฆก้อนใหญ่รูปร่างคล้ายภูเขาใหญ่ มียอดเมฆแผ่ออกเป็นรูปร่างคล้ายทั่งที่ใช้ในการตีเหล็ก (anvil) ฐานเมฆต่ำมีสีดำมืด เป็นเมฆหนา มืดทึบ มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง อาจอยู่กระจัดกระจายหรือรวมกันอยู่ มักมีฝนตกลงมา เรียกเมฆชนิดนี้ว่า เมฆฟ้าคะนอง

อ้างอิง : https://sites.google.com/site/webkroowitthayasat/mekh/prapheth-laea-chnid-khxng-mekh

เซลล์

                         
                                                                        HOMEPAGE
            เซลล์
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดเกิดจากหน่วยชีวิตเล็ก ๆ ที่เรียกว่า เซลล์ (Cell) ประกอบเข้าด้วยกัน กระบวนการทั้งหลายที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การสร้างพลังงานจากอาหารและขับถ่ยของเสียล้วนเกิดขึ้นภายในเซลล์ทั้งสิ้น

ส่วนประกอบของ เซลล์

เซลล์มีหลายชนิดซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ภายในเซลล์มีส่วนประกอบย่อยหลายอย่างซึ่งทำหน้าที่ต่าง ๆ เรียกว่า ออร์แกเนลล์ (organelle) ออร์แกเนลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และสำคัญที่สุดคือ นิวเคลียส มีหน้าที่ควบคุมการทำงานทุกอย่างภายในเซลล์ นิวเคลียส มีเยื่อหุ้มเรียกว่า เยื้อหุ้มนิวเคลียสซึ่งเป็นเยื่อบาง ๆ สองชั้นประกบกันตรงกลางมีลักษณะคล้ายเจล

 

ออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ในตัวอย่างเซลล์สัตว์ (ขนาดที่แสดงไม่เท่ากับสัดส่วนจริง)

ภาพเซลล์
  1. นิวคลีโอลัส (nucleolus) เป็นแหล่งสร้างไรโบโซม
  2. นิวเคลียส (nucleus) เยื้อหุ้มนิวเคลียสจะมีช่องเปิด ปิดเพื่อให้สารต่าง ๆ เคลื่อนเข้าและออกนิวเคลียสได้ เรียกว่า ช่องเยื้อหุ้มนิวเคลียส (nucleus pore)
  3. กอลไจคอมเพล็กซ์ (golgi complex) มีหน้าที่เก็บสะสมและแจกจ่ายสารต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นภายในเซลล์
  4. ไลโซโซม (lysosome) ทำลายแบคทีเรีย ที่บุกรุกร่างกายและทำลายส่วนประกอบของเซลล์ที่หมดสภาพแล้ว
  5. ร่างแหเอนโดพลาซึม (endoplasmic reticulum) เป็นร่างแหของท่อสำหรับลำเลียงขนส่งสารต่าง ๆ ไปทั่วทั้งเซลล์
  6. ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) ทำหน้าที่สร้างพลังงานสำหรัลใช้ภายในเซลล์
  7. ไรโบโซม (ribosome) มีหน้าที่ช่วงสร้างโปรตีนซึ่งจำเป็นต่อการทำงานภายในเซลล์ทั้งหมด
  8. เซนทริโอล (centriole) มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์
เซลล์ทุกชนิดจะมีเยื่อหุ้มเซลล์ห่อหุ้มส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในเซลล์เยื่อหุ้มนี้มีคุณสมบัติ "เลือกให้ผ่าน" คือยินยอมให้สารซึมผ่านไปได้เพียงบางชนิดเท่านั้น
ส่วนประกอบอื่น ๆ ของเซลล์ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น เรียกว่า ไซโทพลาซึม (cytoplasm) เยื่อหุ้มเซลล์นิวเคลียส และ"ซโทพลาซึม รวมเรียกว่า โพรโทพลาซึม (protoplasm)

การแบ่งเซลล์

เซลล์เสื่อมและตายไปตลอดเวลาจึงจำเป็นต้องมีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทน เซลล์จำลองตัวเองโดยแบ่งตัวเป็น 2 เซลล์ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการ เรียกว่า daughter cell

เซลล์เดี่ยวกำลังเริ่มแบ่งตัว
เยื้อหุ้มนิวเคลียสหายไปส่วนประกอบต่าง ๆภายในนิวเคลียสเริ่มถูกดึงแยกจากกัน
กลายเป็นนิวเคลียส 2 นิวเคลียสที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการ
มีรอยคอดเกิดขึ้นตรงแนวกึ่งกลางเซลล์
แบ่งออกเป้น 2 เซลล์

การประกอบเป็นร่างกายของเซลล์

เซลล์ต่างชนิดกันมีหน้าที่แตกต่างกันเรียกว่า ลักษณะจำเพาะขอ่งเซลล์โดยขนาดและรูปร่างของเซลล์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับหน้าที่ของแต่ละเซลล์
เซลล์ชนิดเดียวกันจะรวมกันเป็นเนื้อเยื่อ ตัวอย่างเช่น เซลล์บุผิดชนิดทรงสูงซึ่งมีคุณสมบัติยอมให้สารต่าง ๆ เคลื่อนที่ผ่านได้ดี ประกอบกันเป็นเนื้อเยื่อบุผิว จึงเหมาะจะทำหน้าที่บุผิวอวัยวะต่าง ๆ เช่นลำไส้เล็ก ทำให้ดูดซึมสารต่าง ๆ ได้ดี เป็นต้น




อ้างอิง :http://www.bknowledge.org/link/content/bshow/srch/1/blid/1

ระบบสุริยะ

                                                                     
                                                                       HOMEPAGE
                 ระบบสุริยะ


 คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึงที่โลกของเราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า) เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ( ตอนนี้ไม่มีพลูโตแร้ว เหลือแค่ 8 ดวง ) และยังมีดวงจันทร์บริวารของ ดวงเคราะห์แต่ละดวง (Moon of sattelites) ยกเว้นเพียง สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์ ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่ไพศาลมาก เมื่อเทียบระยะทาง ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 1au.(astronomy unit) หน่วยดาราศาสตร์ กล่าวคือ ระบบสุริยะมีระยะทางไกลไปจนถึงวงโคจร ของดาวพลูโต ดาว เคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ในระบบสุริยะ ซึ่งอยู่ไกล เป็นระยะทาง 40 เท่าของ 1 หน่วยดาราศาสตร์ และยังไกลห่างออก ไปอีกจนถึงดงดาวหางอ๊อต (Oort"s Cloud) ซึ่งอาจอยู่ไกลถึง 500,000 เท่า ของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ด้วย ดวงอาทิตย์มีมวล มากกว่าร้อยละ 99 ของ มวลทั้งหมดในระบบสุริยะ ที่เหลือนอกนั้นจะเป็นมวลของ เทหวัตถุต่างๆ ซึ่ง ประกอบด้วยดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต รวมไปถึงฝุ่นและก๊าซ ที่ล่องลอยระหว่าง ดาวเคราะห์ แต่ละดวง โดยมีแรงดึงดูด (Gravity) เป็นแรงควบคุมระบบสุริยะ ให้เทหวัตถุบนฟ้าทั้งหมด เคลื่อนที่เป็นไปตามกฏแรง แรงโน้มถ่วงของนิวตัน ดวงอาทิตย์แพร่พลังงาน ออกมา ด้วยอัตราประมาณ 90,000,000,000,000,000,000,000,000 แคลอรีต่อวินาที เป็นพลังงานที่เกิดจากปฏิกริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม ซึ่งเป็นแหล่งความร้อนให้กับดาว ดาวเคราะห์ต่างๆ ถึงแม้ว่าดวงอาทิตย์ จะเสียไฮโดรเจนไปถึง 4,000,000 ตันต่อวินาทีก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์ จะยังคงแพร่พลังงานออกมา ในอัตรา ที่เท่ากันนี้ได้อีกนานหลายพันล้านปี

อ้างอิง : https://sites.google.com/site/rabbsuriyasolarsystem/home/rabb-suriya-khux-xari