HOMEPAGE
เซลล์
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดเกิดจากหน่วยชีวิตเล็ก ๆ ที่เรียกว่า เซลล์ (Cell) ประกอบเข้าด้วยกัน กระบวนการทั้งหลายที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การสร้างพลังงานจากอาหารและขับถ่ยของเสียล้วนเกิดขึ้นภายในเซลล์ทั้งสิ้น
ส่วนประกอบของ เซลล์
เซลล์มีหลายชนิดซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ภายในเซลล์มีส่วนประกอบย่อยหลายอย่างซึ่งทำหน้าที่ต่าง ๆ เรียกว่า ออร์แกเนลล์ (organelle) ออร์แกเนลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และสำคัญที่สุดคือ นิวเคลียส มีหน้าที่ควบคุมการทำงานทุกอย่างภายในเซลล์ นิวเคลียส มีเยื่อหุ้มเรียกว่า เยื้อหุ้มนิวเคลียสซึ่งเป็นเยื่อบาง ๆ สองชั้นประกบกันตรงกลางมีลักษณะคล้ายเจล
ออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ในตัวอย่างเซลล์สัตว์ (ขนาดที่แสดงไม่เท่ากับสัดส่วนจริง)
ภาพเซลล์
- นิวคลีโอลัส (nucleolus) เป็นแหล่งสร้างไรโบโซม
- นิวเคลียส (nucleus) เยื้อหุ้มนิวเคลียสจะมีช่องเปิด ปิดเพื่อให้สารต่าง ๆ เคลื่อนเข้าและออกนิวเคลียสได้ เรียกว่า ช่องเยื้อหุ้มนิวเคลียส (nucleus pore)
- กอลไจคอมเพล็กซ์ (golgi complex) มีหน้าที่เก็บสะสมและแจกจ่ายสารต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นภายในเซลล์
- ไลโซโซม (lysosome) ทำลายแบคทีเรีย ที่บุกรุกร่างกายและทำลายส่วนประกอบของเซลล์ที่หมดสภาพแล้ว
- ร่างแหเอนโดพลาซึม (endoplasmic reticulum) เป็นร่างแหของท่อสำหรับลำเลียงขนส่งสารต่าง ๆ ไปทั่วทั้งเซลล์
- ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) ทำหน้าที่สร้างพลังงานสำหรัลใช้ภายในเซลล์
- ไรโบโซม (ribosome) มีหน้าที่ช่วงสร้างโปรตีนซึ่งจำเป็นต่อการทำงานภายในเซลล์ทั้งหมด
- เซนทริโอล (centriole) มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์
ส่วนประกอบอื่น ๆ ของเซลล์ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น เรียกว่า ไซโทพลาซึม (cytoplasm) เยื่อหุ้มเซลล์นิวเคลียส และ"ซโทพลาซึม รวมเรียกว่า โพรโทพลาซึม (protoplasm)
การแบ่งเซลล์
เซลล์เสื่อมและตายไปตลอดเวลาจึงจำเป็นต้องมีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทน เซลล์จำลองตัวเองโดยแบ่งตัวเป็น 2 เซลล์ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการ เรียกว่า daughter cellเซลล์เดี่ยวกำลังเริ่มแบ่งตัว | |
เยื้อหุ้มนิวเคลียสหายไปส่วนประกอบต่าง ๆภายในนิวเคลียสเริ่มถูกดึงแยกจากกัน | |
กลายเป็นนิวเคลียส 2 นิวเคลียสที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการ | |
มีรอยคอดเกิดขึ้นตรงแนวกึ่งกลางเซลล์ | |
แบ่งออกเป้น 2 เซลล์ |
การประกอบเป็นร่างกายของเซลล์
เซลล์ต่างชนิดกันมีหน้าที่แตกต่างกันเรียกว่า ลักษณะจำเพาะขอ่งเซลล์โดยขนาดและรูปร่างของเซลล์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับหน้าที่ของแต่ละเซลล์เซลล์ชนิดเดียวกันจะรวมกันเป็นเนื้อเยื่อ ตัวอย่างเช่น เซลล์บุผิดชนิดทรงสูงซึ่งมีคุณสมบัติยอมให้สารต่าง ๆ เคลื่อนที่ผ่านได้ดี ประกอบกันเป็นเนื้อเยื่อบุผิว จึงเหมาะจะทำหน้าที่บุผิวอวัยวะต่าง ๆ เช่นลำไส้เล็ก ทำให้ดูดซึมสารต่าง ๆ ได้ดี เป็นต้น
อ้างอิง :http://www.bknowledge.org/link/content/bshow/srch/1/blid/1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น